ข้อมูลพื้นฐาน

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

๑. ด้านกายภาพ

๑.๑ ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
       เทศบาลตำบลท่าระหัด  ตั้งอยู่เลขที่  ๓๓/๓  หมู่ที่ ๓  ตำบลท่าระหัด  อำเภอเมืองสุพรรณบุรี  จังหวัดสุพรรณบุรี  ตำบลท่าระหัดอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองสุพรรณบุรี  ไปทางทิศใต้ประมาณ  ๔  กิโลเมตร  สามารถเดินทางติดต่อได้โดยถนนบางปลาม้าสายเก่า  และถนนทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๓๔๐ (สุพรรณ-กรุงเทพฯ)  มีพื้นที่ประมาณ  ๑๙.๔๖  ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ  ๑๒,๑๖๒.๕๐ ไร่  และมีพื้นที่ติดกับ     เขตการปกครอง  โดยมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

ทิศเหนือ ติดกับตำบลสนามชัย , เขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี
ทิศใต้ ติดกับตำบลโคกคราม  อำเภอบางปลาม้า , ตำบลทับตีเหล็ก  อำเภอเมืองสุพรรณบุรี  จังหวัดสุพรรณบุรี
ทิศตะวันออก ติดกับตำบลไผ่ขวาง , ตำบลโคกโคเฒ่า อำเภอเมืองสุพรรณบุรี  จังหวัดสุพรรณบุรี
ทิศตะวันตก ติดกับตำบลทับตีเหล็ก , ตำบลรั้วใหญ่  อำเภอเมืองสุพรรณบุรี  จังหวัดสุพรรณบุรี
 

๑.๒ ลักษณะภูมิประเทศ
        ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีทรัพยากรดินและน้ำสมบูรณ์เหมาะสำหรับการเพาะปลูก  มีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่าน  มีคลองชลประทาน  มีถนนสายสุพรรณ-บางปลาม้า ทางหลวงสาย ๓๔๐ (สุพรรณ-กรุงเทพฯ)

๑.๓ ลักษณะภูมิอากาศ
      สภาพอากาศโดยทั่วไป จะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านในเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ทำให้เกิดสภาพอากาศหนาวเย็นในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม จะมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้พัดผ่านทำให้เกิดอากาศร้อน   ในเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายนจะมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่านทำให้เกิดฝนตกชุก
 
๑.๔ ลักษณะของดิน
      ลักษณะดินในพื้นที่ตำบลท่าระหัด  ส่วนใหญ่เป็นดินร่วน เหมาะแก่การเพาะปลูกประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าระหัด จึงประกอบอาชีพ เกษตรกรรม  เป็นจำนวนมาก
 
๑.๕ ลักษณะของแหล่งน้ำ
      ในเขตเทศบาลตำบลท่าระหัด  มีแม่น้ำท่าจีนไหล่ผ่าน  ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่มีบ้านเรือนที่อาศัยอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน  อีกทั้งมีคลองชลประทาน  มีหนอง/บึง  บางแห่ง
 
๑.๖ ลักษณะของไม้และป่าไม้



๒. ด้านการเมือง/การปกครอง
          ๒.๑ เขตการปกครอง
                จำนวนชุมชนในเขตเทศบาลตำบลท่าระหัด  มีจำนวน  ๕  ชุมชน คือ

  ๑. ชุมชนท่าระหัด   หมู่ที่ ๑
  ๒. ชุมชนโพธิ์คอย   หมู่ที่ ๒
  ๓. ชุมชนท่าโขลง    หมู่ที่ ๓
  ๔. ชุมชนคันทด       หมู่ที่ ๔
  ๕. ชุมชนโคกหม้อ   หมู่ที่ ๕
 
๒.๒ การเลือกตั้ง
       เทศบาลตำบลท่าระหัด  ดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสมาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น  โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสุพรรณบุรี  มีความเห็นชอบให้ใช้รูปแบบที่  ๕  ในการแบ่งเขตตามมติที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง  ในการประชุมครั้งที่ ๑๔๘/๒๕๕๑  ลงวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน  ๒๕๕๑  ตามประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง  เรื่อง  การแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลในจังหวัดสุพรรณบุรี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง  พ.ศ. ๒๕๕๐  และมาตรา ๑๓  มาตรา  ๑๔  แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น  พ.ศ. ๒๕๔๕  ประกอบมติคณะกรรมการการเลือกตั้งในการประชุมครั้งที่ ๑๔๘/๒๕๕๑  เมื่อวันที่  ๒๖ พฤศจิกายน  ๒๕๕๑  คณะกรรมการการเลือกตั้ง  จึงประกาศแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลในจังหวัดสุพรรณบุรี  จำนวน  ๑  แห่ง
เทศบาลตำบลท่าระหัด  แบ่งเขตการปกครองออกเป็น  ๒ เขต
 
๑. เขตเลือกตั้งที่ ๑ จำนวนสมาชิกสภาเทศบาล  ๖  คน
๒. เขตเลือกตั้งที่ ๒ จำนวนสมาชิกสภาเทศบาล  ๖  คน
             รวมทั้งสิ้นจำนวน  ๑๒  คน
 
        เขตเลือกตั้งที่ ๑  มีพื้นที่  ๑๑.๐๓  ตารางกิโลเมตร  มีจำนวนประชากร ๓,๕๕๐ คน  มีจำนวน ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ๒,๗๒๑ คน  และมีจำนวนครัวเรือน  ๙๑๗  ครัวเรือน โดยแบ่งเขตหมู่บ้าน/ชุมชน  คือ  ประชาชนที่มีบ้านเรือนอยู่เขตเทศบาล  แนวคลองท่าใหญ่ฝั่งทิศเหนือ  บ้านเรือนประชาชนที่มีอยู่แนวถนนซอยหัวดงตาลฝั่งทิศเหนือ  ถึงบ้านเรือนประชาชนถนนกรุงเทพ-บางบัวทอง (๓๔๐) ฝั่งทิศตะวันตก  ถึงถนนเลี่ยงเมือง  (๓๕๗)  ไปตามถนนฝั่งทิศเหนือ
 
        เขตเลือกตั้งที่ ๒  มีพื้นที่ ๘.๔๓ ตารางกิโลเมตร  มีจำนวนประชากร ๓,๗๙๕ คน  มีจำนวน ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ๒,๘๘๔  คน  และมีจำนวนรัวเรือน  ๘๙๕  คน
โดยแบ่งเขตหมู่บ้าน/ชุมชน คือ ประชาชนที่มีบ้านเรือนอยู่ในเขตเทศบาล แนวคลองท่าใหญ่ฝั่งทิศใต้  บ้านเรือนประชาชนที่อยู่แนวถนนซอยหัวดงตาลฝั่งทิศใต้ถึงบ้านเรือนประชาชน  ถนนกรุงเทพ-บาง บัวทอง (๓๔๐) ฝั่งทิศตะวันออก ถึงถนนเลี่ยงเมือง (๓๕๗) ไปตามถนนฝั่งทิศใต้
เส้นแบ่งเขตเลือกตั้ง ใช้ถนนคลอง , แม่น้ำ เส้นแบ่งเขตเทศบาล รวมทั้งใช้สถานที่สำคัญเช่น โรงเรียน วัด สิ่งปลูกสร้างอื่นๆ เช่น สะพาน มีสิ่งสังเกตในการแสดงพื้นที่จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด และจุดติดเชื่อมโยงของแต่ละเขต
 
 
 
๓.  ประชากร
๓.๑ ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร

ที่

ชื่อชุมชน

จำนวนครัวเรือน

(ครัวเรือน)

ปี ๒๕๖๓

ชาย

หญิง

รวม

ท่าระหัด

๕๑๖

๗๑๖

๗๗๓

๑,๔๘๙

โพธิ์คอย

๔๒๐

๖๐๐

๖๗๘

๑,๒๗๘

ท่าโขลง

๔๐๗

๔๓๐

๔๘๒

๙๑๒

คันทด

๔๙๐

๖๔๔

๗๑๙

๑,๓๖๓

โคกหม้อ

๓,๐๗๓

๑,๖๐๙

๒,๐๘๐

๓,๖๘๙

รวมทั้งสิ้น

๔,๙๐๖

๓,๙๙๙

๔,๗๓๒

๘,๗๓๑

 

 

๔.  สภาพทางสังคม
๔.๑  การศึกษา
   สถานศึกษาของทางราชการ
  โรงเรียนประถมศึกษา ๒  แห่ง  ดังนี้
  ๑. โรงเรียนวัดมเหยงคณ์  ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑  ตำบลท่าระหัด อำเภอเมืองสุพรรณบุรี   จังหวัดสุพรรณบุรี
  ๒. โรงเรียนวัดคันทด  ตั้งอยู่หมู่ที่  ๔  ตำบลท่าระหัด  อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
 
  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๒ แห่ง ดังนี้
  ๑. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดมเหยงคณ์ (กรมศาสนา) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓  ตำบลท่าระหัด  
      อำเภอเมืองสุพรรณบุรี  จังวัดสุพรรณบุรี  ครู คศ. ๑  ๒ คน  ผู้ดูแลเด็ก  ๑  คน 
      จำนวนเด็ก   ๓๖  คน
  ๒. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดคันทด (ถ่ายโอนกรมพัฒนาชุมชน) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลท่าระหัด   
      อำเภอสุพรรณบุรี  จังหวัดสุพรรณบุรี  ผู้ดูแลเด็ก  ๒  คน  จำนวนเด็ก  ๒๑ คน
 
  สถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่ตำบลท่าระหัด
   ๑. โรงเรียนอนุบาลดวงแก้ว  เลขที่ตั้ง  331/2 หมู่ที่ 5 ซอยเรือนรัก(6) ถนนเณรแก้ว 
         ตำบลท่าระหัด อำเภอเมืองสุพรรณบุรี สุพรรณบุรี 72000 โทร : 035-521895
   ๒. อนุบาลสองภาษา  โรงเรียนสหวิทย์ เลขที่ตั้ง  89/9 หมู่ 5  ตำบลท่าระหัด 
       อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี 72000 โทร. 035-522873-874
 
๔.๒  สาธารณสุข
        เทศบาลตำบลท่าระหัด  มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าระหัด  ตั้งอยู่หมู่ที่  ๒  ตำบลท่าระหัด  อำเภอเมืองสุพรรณบุรี  จังหวัดสุพรรณบุรี
 
๔.๓  อาชญากรรม
-
 
๔.๔  ยาเสพติด
        ปัญหายาเสพติดในเขตพื้นที่ตำบลท่าระหัด  จากข้อมูลที่ได้รับแจ้งจากฝ่ายป้องกันฯ  อำเภอเมืองสุพรรณบุรี  ที่ได้แจ้งให้เทศบาลตำบลท่าระหัดทราบในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑  พบว่าผู้ที่อยู่ในข่ายติดยาเสพติดที่ได้รับแจ้งจากสถานีตำรวจภูธรเมืองสุพรรณบุรี  ปรากฏว่ามีผู้ถูกจับกุมในเขตพื้นที่ตำบลท่าระหัด  แต่ไม่ได้มีที่อยู่อาศัยในเขตเทศบาลแต่อย่างใด  เหตุผลเนื่องมาจากว่าได้รับความร่วมมือกับทางผู้นำในท้องถิ่น  ประชาชน  หน่วยงานของเทศบาลที่ช่วยสอดส่องดูแลอยู่เป็นประจำ การแก้ไขปัญหาของเทศบาลสามารถทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น  เช่น  การณรงค์  การประชาสัมพันธ์  การแจ้งเบาะแส  ฯลฯ
 
๔.๕  การสังคมสงเคราะห์
       เทศบาลตำบลท่าระหัด ได้ให้การสงเคราะห์ผู้สูงอายุ  คนพิการ  ผู้ป่วยเอดส์  ดังนี้
(๑)  สิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ     จำนวน    ๑,๑๕๘  คน
(๒) ผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพคนพิการ     จำนวน       ๒๑๙  คน
(๓) ผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ จำนวน         ๑๔  คน
 
 
 
๕.  ระบบบริการพื้นฐาน
๕.๑  การคมนาคมขนส่ง
  การคมนาคมขนส่งระหว่างตำบล อาศัยเส้นทางคมนาคมทางบกโดยทางรถยนต์  โดยมีเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ ได้แก่
   - ถนนทางหลวงสาย ๓๔๐ (สุพรรณ-กรุงเทพฯ) , ถนนสายสุพรรณ-ชัยนาท
   - ถนนทางหลวงสายสุพรรณบุรี – บางปลาม้าสายเก่า ๓๐๓๗
   - ถนน คสล. ซอยอ้งพันธุ์
   - ถนน คสล. เส้นเณรแก้ว  ซอย ๑๒
 
๕.๒  การไฟฟ้า
  การขยายเขตไฟฟ้า ปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน คือมีไฟฟ้าเข้าถึงทุกชุมชน จำนวน ๕ ชุมชน และมีใช้ทุกครัวเรือน  
 
๕.๓  การประปา
   - มีการใช้น้ำประปาทุกครัวเรือน
   - การประปาส่วนภูมิภาค , ประปาขนาดใหญ่ของเทศบาล  จำนวน  ๒  แห่ง
   - ประปาชุมชน  จำนวน  ๔  แห่ง  ดังนี้
       * ชุมชนท่าระหัด  (หมู่ที่ ๑)
        * ชุมชนท่าโขลง  (หมู่ที่ ๓)  บางส่วน
       *  ชุมชนคันทด  (หมู่ที่ ๔)
        *  ชุมชนโคกหม้อ  (หมู่ที่ ๕)
 
๕.๔  โทรศัพท์
   - มีเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ ทุกเครือข่าย
 
๕.๕  ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
   - มีเสียงตามสาย  จำนวน  ๕  ชุมชน
   - มีหอกระจายข่าวชุมชนท่าระหัด (หมู่ที่ ๑)  และชุมชนท่าโขลง (หมู่ที่ ๓) 
 
 
 
๖.  ระบบเศรษฐกิจ
๖.๑  การเกษตร
  พื้นที่ทำการเกษตรขงประชากรในตำบลท่าระหัด แบ่งเป็น ๕ ชุมชน
๑. ชุมชนท่าระหัด (หมู่ที่ ๑)  ทำนา  จำนวน  ๒๐  ครัวเรือน  จำนวน  ๘๐๐  ไร่  
    ทำสวนมะม่วง จำนวน  ๕  ครัวเรือน  จำนวน  ๑๐ ไร่
๒. ชุมชนโพธิ์คอย (หมู่ที่ ๒)  ทำนา  จำนวน  ๒  ครัวเรือน  จำนวน  ๕๐  ไร่
    ทำสวนมะม่วง (เก็บเป็นรายวัน) จำนวน  ๔  ครัวเรือน  จำนวน  ๒๐  ไร่
๓. ชุมชนท่าโขลง (หมู่ที่ ๓)  ทำนา  จำนวน  ๑๗  ครัวเรือน  จำนวน  ๑๕๐  ไร่  
    ทำสวนมะม่วง (เก็บเป็นรายวัน) จำนวน ๑ ครัวเรือน  จำนวน  ๑๕  ไร่
๔. ชุมชนคันทด (หมู่ที่ ๔)  ทำนา  จำนวน  ๑๒๐  ครัวเรือน  จำนวน  ๒,๒๐๐  ไร่ 
    ทำสวนมะม่วง  ๑๕ ครัวเรือน  จำนวน  ๑๒๐ ไร่  
    ทำไร่ (ไร่ผักสวนครัวเก็บผลผลผลิตขายทุกวัน) จำนวน ๑๐ ครัวเรือน 
    จำนวน ๗๐ ไร่
๕. ชุมชนโคกหม้อ (หมู่ที่ ๕)  ทำนา  จำนวน  ๖๐  ครัวเรือน  จำนวน  ๑,๔๐๐  ไร่
 
๖.๒  การประมง
 -
๖.๓  การปศุสัตว์
- ฟาร์ม(เลี้ยงหมู) จำนวน  ๑  แห่ง
๖.๔  การบริการ
- โรงแรม-รีสอร์ท   จำนวน   ๘   แห่ง
- หอพักและอพาร์ทเม้นท์   จำนวน  ๑๒  แห่ง
- หมู่บ้านจัดสรร   จำนวน   ๕   แห่ง
- ร้านมินิมาร์ท-ซุปเปอร์   จำนวน   ๖   แห่ง
- คลินิก   จำนวน   ๙   แห่ง
- คลินิกรักษาสัตว์   จำนวน   ๒   แห่ง
- โชว์รูมรถจักรยานยนต์   จำนวน   ๑   แห่ง
- ร้านกลึงเครื่องจักรกล  จำนวน   ๑  แห่ง
- ร้านขายวัสดุก่อสร้าง  จำนวน   ๕  แห่ง
- ร้านเสริมสวย   จำนวน   ๕  แห่ง
- ร้านรับซื้อของเก่า  จำนวน   ๑   แห่ง
- ห้างสรรพสินค้า(โลตัส,โรบินสัน)  จำนวน    ๒  แห่ง
- ร้านขายอะไหล่รถยนต์ จำนวน   ๑๗  แห่ง
- ร้านค้าทั่วไป  จำนวน  ๑๐๒  แห่ง
- ธนาคาร   จำนวน   ๙  แห่ง
- ร้านอาหาร จำนวน   ๕๐   แห่ง
- โชว์รูมรถยนต์ จำนวน    ๗   แห่ง
- เต้นท์รถมือสอง จำนวน    ๔   แห่ง
- ปั๊มน้ำมันรถยนต์   จำนวน    ๓   แห่ง
- ปั๊มก๊าซ  จำนวน    ๓   แห่ง
- ร้านอ๊อกเชื่อมกลึง  จำนวน    ๑    แห่ง
- สระว่ายน้ำ   จำนวน    ๒    แห่ง
- ตลาดนัด  จำนวน    ๒    แห่ง
- โรงภาพยนตร์ จำนวน    ๒    แห่ง
 
๖.๕  การท่องเที่ยว
             สถานที่ท่องเที่ยวเทศบาลตำบลท่าระหัด มีวัดท่าโขลงตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลท่าระหัด  อำเภอเมืองสุพรรณบุรี  จังหวัดสุพรรณบุรี  โดยมีแพปลา ซึ่งให้ประชาชนได้เข้ามาให้ไหว้พระทำบุญและให้อาหารปลา
 
๖.๖  อุตสาหกรรม
- โรงงานทำปลาทูนึ่ง จำนวน   ๑   แห่ง
- บริษัทเอกชน จำนวน  ๖๒  แห่ง
- บริษัทประกันภัย จำนวน  ๑๑  แห่ง
- ต.ร.อ. จำนวน    ๖   แห่ง
 - ห.จ.ก. จำนวน    ๘   แห่ง
 
๖.๗  การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
กลุ่มสตรีตัดเย็บเสื้อผ้า ชุมชนท่าระหัด (หมู่ที่ ๑)
กลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือน ชุมชนโพธิ์คอย (หมู่ที่ ๒)
ชุมชนโคกหม้อ (หมู่ที่ ๕)
กลุ่มสตรีตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป ชุมชนคันทด (หมู่ที่ ๔)
 
๖.๘  แรงงาน
           จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า  ประชากรที่มีอายุ  ๑๕ – ๖๐  ปี อยู่ในกำลังแรงงาน  โดยประชากรอายุระหว่าง  ๒๕ – ๕๐ ปี บางส่วน ไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่  
 
 
๗.  ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
๗.๑  การนับถือศาสนา
        ประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าระหัดนับถือศาสนาพุท
          - ในเขตพื้นที่ตำบลท่าระหัด  มีวัดจำนวนทั้งสิ้น  ๗  แห่ง  ได้แก่
  ๑. วัดมเหยงคณ์  ชุมชนท่าระหัด  (หมู่ที่ ๑)
  ๒. วัดโพคอย  ชุมชนโพธิ์คอย  (หมู่ที่ ๒)
  ๓. วัดใหม่บัวลอย ชุมชนโพธิ์คอย  (หมู่ที่ ๒)
  ๔. วัดโพธิ์นางเทรา ชุมชนท่าโขลง   (หมู่ที่ ๓)
  ๕. วัดท่าโขลง ชุมชนท่าโขลง   (หมู่ที่ ๓)
  ๖. วัดคันทด ชุมชนคันทด     (หมู่ที่ ๔)
  ๗. วัดชายทุ่ง ชุมชนโคกหม้อ  (หมู่ที่ ๕)
 
๗.๒  ประเพณีและงานประจำปี
        งานประเพณีในพื้นที่ตำบลท่าระหัด ประกอบด้วย  
- งานวันเด็กแห่งชาติ   
- งานวันแม่แห่งชาติ ๑๒ สิงหาคม  
- งานประเพณีสงกรานต์  
- งานแห่เทียนเข้าพรรษา 
- งานประเพณีลอยกระทง 
 
๗.๓  ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
          ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ประชาชนในเขตเทศบาลได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ได้แก่  วิธีการทำเครื่องจักสารใช้สำหรับในครัวเรือน , วิธีการทำผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำยาสระผม 
          ภาษาถิ่น  ประชาชนในตำบลท่าระหัดส่วนใหญ่พูดภาษาไทยภาคกลาง
 
๗.๔  สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
หนวดไม้จันทน์  ,  สาลี่สุพรรณ
 
๘.  ทรัพยากรธรรมชาติ
๘.๑  น้ำ
           แหล่งน้ำธรรมชาติ คือ แม่น้ำท่าจีน  คลองชลประทาน และหนอง/บึง ตามบัญชีรายชื่อที่สาธารณะประโยชน์  ๖  แห่ง  ดังนี้
๑. หนองอ้ายโม ๑   ชุมชนคันทด  หมู่ที่ ๔   เนื้อที่    ๒  ไร่
๒. หนองอ้ายโม ๒   ชุมชนคันทด  หมู่ที่ ๔   เนื้อที่    ๒  งาน
๓. หนองใหญ่ ๑     ชุมชนคันทด  หมู่ที่ ๔   เนื้อที่    ๑  ไร่
๔. หนองใหญ่ ๒     ชุมชนคันทด  หมู่ที่ ๔   เนื้อที่    ๑  ไร่
๕. หนองไฟไหม้     ชุมชนคันทด  หมู่ที่ ๔
๖. ลำสมุห์    ชุมชนคันทด  หมู่ที่ ๔
 
๘.๒  คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
         ๑. แม่น้ำท่าจีนที่แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยามีอำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท ไหลผ่านอำเภอเมืองสุพรรณบุรี  ลงมาทางเทศบาลตำบลท่าระหัด  และประกอบกับแม่น้ำลำคลองมากมาย ทำให้เกิดความ  อุดมสมบูรณ์ในพื้นที่
         ๒. หนอง/บึง  มีอยู่ในพื้นที่ สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในการเกษตรกรรมในพื้นที่ได้อย่างสมบูรณ์
         ๓. ดิน  มีความเหมาะสม สำหรับการทำนา  พืชไร่   ไม้ยืนต้น  ไม้ผลต่างๆ  การปลูกหญ้า   เลี้ยงสัตว์ ทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์  สำหรับการปศุสัตว์  ซึ่งพิจารณาจากคุณสมบัติของดินทำกายภาพและเคมีในด้านเนื้อดิน  ความลึกของดิน  ความสามารถในการอุ้มน้ำ